หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม :
          ศิลปศาสตรบัณฑิต (พัฒนาสังคม)
          Bachelor of Arts (Social Development)
ชื่อย่อ :
          ศศ.บ. (พัฒนาสังคม)
          B.A. (Social Development)

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนาสังคมมุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม และรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ทั้งทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี และทักษะชีวิตและอาชีพ เพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพ จัดการทรัพยากรในชุมชน เป็นที่พึ่งของสังคมบนฐานพหุวัฒนธรรม และเอื้อต่อการมีสุขภาวะของคนทุกช่วงวัยบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

มีคุณธรรม สุจริตโปร่งใส

นักศึกษาแสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีคุณธรรม สุจริตโปร่งใส และจริยธรรมในการพัฒนาสังคม

สามารถประยุกต์กระบวนการการพัฒนาสังคม

นักศึกษาสามารถประยุกต์กระบวนการการพัฒนาสังคมที่ตอบสนองความต้องการที่จำเป็นของชุมชน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติภาคสนาม

แสวงหาความรู้ความเข้าใจ

นักศึกษาแสวงหาความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน และวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์สังคม

ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน

นักศึกษาสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาสังคม

ทักษะวิจัยชุมชน สังคม

นักศึกษามีทักษะวิจัยชุมชน สังคม รวมถึงการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และภัยพิบัติในจังหวัดชายแดนใต้

ปรับตัวยอมรับความคิดเห็น

นักศึกษาสามารถปรับตัวยอมรับความคิดเห็น พร้อมทั้งให้เกียรติความเป็นชุมชน

ทำงานร่วมกับผู้อื่น

นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น เคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีทักษะในการสื่อสาร

ทำไมต้องเรียนด้านการพัฒนาสังคม ม.อ.ปัตตานี

พัฒนาสังคม ม.อ. ปัตตานี: สร้างการเปลี่ยนแปลง เข้าใจชุมชน พัฒนาอย่างยั่งยืน

เรียนรู้จากสนามจริง

ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชนหลากหลาย เข้าใจปัญหาสังคมแบบรอบด้าน ไม่ใช่แค่ทฤษฎีในห้องเรียน

ทักษะที่ตลาดงานต้องการ

ฝึกการวิเคราะห์ปัญหา การทำงานเป็นทีม และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ทักษะที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนกำลังมองหา

โอกาสทำงานหลากหลาย

จบแล้วทำงานได้ทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน หรือแม้แต่เป็นผู้ประกอบการทางสังคม

เข้าใจและแก้ปัญหาพื้นที่พิเศษ

เรียนรู้การพัฒนาในบริบทพหุวัฒนธรรมของภาคใต้ เข้าใจความท้าทายและโอกาสในพื้นที่ที่มีความหลากหลาย

เรียนเกี่ยวกับอะไร ?

หลักสูตรเน้นกระบวนการเรียนรู้จากการทำงานจริงในชุมชน ทำให้คุณเข้าใจหลักการพัฒนาสังคม เข้าถึงความเป็นมนุษย์ ชุมชน สังคม และพัฒนาโดยใช้การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบสังคมที่สามารถแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เพื่อแก้ปัญหาให้มนุษย์ ชุมชน และสังคมอย่างเป็นรูปธรรม อันนำไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

ตัวอย่างรายวิชาที่คุณจะได้เรียน

  • การพัฒนาสังคม
  • ชุดวิชาการพัฒนาสังคมเพื่อความยั่งยืน
  • การพัฒนาทรัพยากรในชนบทและเมือง
  • การวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้
  • เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การจัดการความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้
  • จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาสังคม
  • การท่องเที่ยวชุมชน
  • สิทธิและสวัสดิการสังคมสำหรับคนทุกช่วงวัย

 

ขอเชิญร่วมสำรวจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่อภาคใต้ และร่วมกันหาแนวทางรับมือเพื่อสร้างอนาคตสิทธิมนุษยชนภาคใต้ที่เปราะบางที่ยั่งยืน ภายใต้ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรง

HIGHLIGHTS

พัฒนาสังคม

จบแล้วทำงานอะไร ?

  • นักพัฒนาสังคมและชุมชน
  • นักวิเคระห์นโยบายและแผน
  • เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น
  • นักการเมืองและข้าราชการการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น
  • ครู อาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์
  • อาชีพอิสระอื่น ๆ

มาร่วมตามหาความฝัน มาค้นหาตัวตนที่ใช่ไปกับเรา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาพัฒนาสังคม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เรียนพัฒนาสังคม เรียนรู้สู่การลงมือปฏิบัติจริง
เรียนพัฒนาสังคม ถักทออนาคตไปกับคุณ
เรียนพัฒนาสังคม สร้างความรู้คู่ชุมชน
เรียนพัฒนาสังคม ดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
เรียนพัฒนาสังคม ดูแลสุขภาพกายและจิต เป็นมิตรกับชุมชน
เรียนพัฒนาสังคม พัฒนาความรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

เสียงจากศิษย์เก่า สาขาวิชาพัฒนาสังคม

เมื่อได้ทำงาน ทุกเรื่องราวที่ได้จากที่นี่ โคตรมีคุณค่า ต่อทั้งงานที่ทำ และชีวิตตัวเอง
กรวิชญ์ ศรีสมบัติ
นักวิชาการอุดมศึกษา สังกัดกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
COVER_Banner_2021_001
ปฏิทินรับสมัคร_Tcas68
Banner_รวมforweb
promote_stickerline 01 [Recovered]
promote_themeline 01 [Recovered]
Slide
ไม่มีชื่อ (1200 x 366 px)
previous arrow
next arrow
Scroll to Top