คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับภาคประชาชน จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น หาทางออกวิกฤตน้ำท่วมภาคใต้ตอนล่าง

เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ และภาคอื่นๆของประเทศไทย เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ผ่านพ้นไปในแต่ละครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงการตั้งรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในขณะที่การตั้งรับจากภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในภาวะความร้อน น้ำแล้ง น้ำท่วม หรือผลกระทบอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมาและหนักมากขึ้นในทุกสถานการณ์ ซึ่งส่งผลกระทบจากปรากฏการณ์ก่อให้เกิดน้ำท่วม ฝนตกหนัก หรือดินโคลนถล่ม ไม่เพียงสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในหลายจังหวัดในภาคใต้โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งด้านอ่าวไทย กำลังเผชิญกับฝนที่ตกหนักและน้ำท่วมครั้งรุนแรง หลายพื้นที่

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ องค์กรการเรียนรู้ของประชาชน ร่วมกับสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และเครือข่ายผู้หญิงกับภัยพิบัติจังหวัดชายแดนใต้ จัด “ เวทีประมวลสถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้ ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ผ่านกรณีภัยพิบัติภาคใต้ “ เพื่อสำรวจประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่อภาคใต้ และร่วมกันหาแนวทางรับมือเพื่อสร้างอนาคตสิทธิมนุษยชนภาคใต้ที่เปราะบางที่ยั่งยืน ภายใต้ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรง รวมไปถึงเพื่อวิเคราะห์ให้เห็นรูปธรรมของปัญหา และทางออกในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ โดยการหยิบยกกรณีภัยพิบัติ ( น้ำท่วม ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัญชา เตส่วน รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นผู้แทนคณบดี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสนาในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 – 24 ธันวาคม 2567 ณ ห้องมะเดื่อ ชั้น 2 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Scroll to Top