หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม :
          ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย)
          Master of Arts (Thai)

ชื่อย่อ :
          ศศ.ม. (ภาษาไทย)
          M.A. (Thai) 

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตบนพื้นฐานการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยมเพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะเป็น “ผู้รอบรู้ภาษาและวรรณกรรมไทยและถิ่น ต่อยอดองค์ความรู้ ประยุกต์สู่วิชาชีพ” ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อโอกาสในการพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

สังเคราะห์ทฤษฎีด้านภาษา วรรณคดี คติชน หรือการสื่อสาร

สังเคราะห์ทฤษฎีด้านภาษา วรรณคดี คติชน
หรือการสื่อสาร เพื่อผลิตผลงานไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้

บูรณาการความรู้ด้านภาษาวรรณคดีคติชน หรือการสื่อสาร

บูรณาการความรู้ด้านภาษาวรรณคดีคติชน
หรือการสื่อสาร เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นภาคใต้

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นและนำเสนอข้อมูล

คุณธรรมจริยธรรมทางวิชาการ

แสดงออกถึงพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมทางวิชาการ
และการดำรงชีวิตในสังคม

ทำไมต้องเรียนสาขาภาษาไทย ม.อ.ปัตตานี

สามารถใช้องค์ความรู้ตอบสนองความจำเป็นของชุมชนและวิชาชีพให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก
สังคมไทย และชุมชนภาคใต้ซึ่งมีเอกลักษณ์อยู่ที่ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม

องค์ความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับภาษาไทย

มีองค์ความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับภาษาไทยและทฤษฎีที่จำเป็นในการศึกษาและทำความเข้าใจภาษาและวรรณกรรม

เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ

มีเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ข้อมูลในการวิจัย

อาจารย์มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ

สอนโดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ

มีกิจรรมเพื่อศึกษาค้นคว้า และลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานจริง

มีกิจกรรมให้ผู้เรียนลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลภาคสนามและ/หรือสำรวจชุมชนหรือทัศนศึกษาหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยที่เชื่อมโยงกับบริบทของสังคมทั้งระดับท้องถิ่น และสากล

เรียนเกี่ยวกับอะไร ?

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย เพื่อผลิตมหาบัณฑิตด้านภาษาและวรรณไทยที่มีคุณลักษณะ ดังนี้ 1. มีองค์ความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับภาษาไทยและทฤษฎีที่จำเป็นในการศึกษาและทำความเข้าใจภาษาและวรรณกรรม 2. มีความเชี่ยวชาญในการวิจัย โดยใช้ข้อมูลและเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทฤษฎีกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ด้วยความตระหนักในคุณค่า 4. มีความเข้าใจและทัศนคติที่ยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมและการใช้ภาษาของสังคม

ตัวอย่างรายวิชาที่คุณจะได้เรียน

  • ทฤษฎีภาษาศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ภาษาไทย
  • วิทยาภาษาถิ่น
  • วัจนลีลาศาสตร์
  • วาทกรรมวิเคราะห์
  • วรรณกรรมเปรียบเทียบและการศึกษาเชิงสหวิทยาการ
  • วรรณกรรมท้องถิ่นศึกษา
  • การสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรม
  • เพศสภาพ พลวัตสังคม และการสื่อสาร
  • ชุดวิชาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาที่สองสำหรับคนไทยมลายู
  • ชุดวิชาการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ

จบแล้วทำงานอะไร ?

  • ล่าม นักแปล มัคคุเทศก์
  • ครู / ผู้สอนภาษาไทยให้ชาวไทยและชาวต่างชาติ
  • นักข่าว / ผู้ประกาศข่าว /
  • พิธีกร
  • นักสื่อสารประชาสัมพันธ์ (PR)
  • นักเขียนสารคดี / วรรณกรรม
  • นักวิชาการในสถาบันต่าง ๆ
  • บล็อกเกอร์ ยูทูปเบอร์ ดีเจ วีเจ
  • บรรณาธิการ
  • นักพิสูจน์อักษร
  • Account Executive (AE)
  • นักเขียนคอนเทนต์ (Content Creator)

มาร่วมตามหาความฝัน มาค้นหาตัวตนที่ใช่ไปกับเรา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เพื่อผลิตมหาบัณฑิตด้านภาษาและวรรณไทยที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
  • 1. มีองค์ความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับภาษาไทยและทฤษฎีที่จำเป็นในการศึกษาและทำความเข้าใจภาษาและวรรณกรรม
  • 2. มีความเชี่ยวชาญในการวิจัย โดยใช้ข้อมูลและเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • 3. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทฤษฎีกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ด้วยความตระหนักในคุณค่า
  • 4. มีความเข้าใจและทัศนคติที่ยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมและการใช้ภาษาของสังคม
  • ปฏิทินรับสมัคร_Tcas68
    benner_webhuso
    PosterBanner_001_2025_ForWebSlice
    Banner_รวมforweb
    promote_stickerline 01 [Recovered]
    promote_themeline 01 [Recovered]
    Slide
    ไม่มีชื่อ (1200 x 366 px)
    previous arrow
    next arrow
    Scroll to Top