หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลี

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม :
         ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาเกาหลี)
         Bachelor of Arts (Korean)

ชื่อย่อ :
         ศศ.บ. (ภาษาเกาหลี)
         B.A. (Korean)

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลีมุ่งเน้นผลลัพธ์ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ ผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะสอดคล้องกับคุณลักษณะของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “I – WiSe ซื่อสัตย์มีวินัย ใฝ่ปัญญา จิตสาธารณะ” มีความรู้ภาษาเกาหลีและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้บริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านภาษาเกาหลีในการประกอบอาชีพต่าง ๆ มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ทั้งทักษะการเรียนรู้ ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ และมีคุณธรรม จริยธรรม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาเกาหลี

1. มีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาเกาหลีในชีวิตประจำวัน และ 2. มีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาเกาหลีในการปฏิบัติงาน

ความเข้าใจวัฒนธรรมเกาหลี

ประยุกต์ใช้ภาษาเกาหลีกับความเข้าใจ
วัฒนธรรมเกาหลีเพื่อการประกอบอาชีพ

เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
และศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนางานอาชีพ

ทักษะการทำวิจัยและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาษาเกาหลี

มีทักษะการทำวิจัยเละนำเสนอข้อมูล
เกี่ยวกับภาษาเกาหลีและเกาหลีศึกษาในที่ประชุมวิชาการ

การทำงานเป็นทีม

แสดงออกถึงพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
และปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

คุณธรรม จริยธรรม
และจิตสาธารณะ

แสดงออกถึงพฤติกรรมด้านคุณธรรม
จริยธรรมและจิตสาธารณะ

ทำไมต้องเรียนภาษาเกาหลี ม.อ.ปัตตานี

เปิดประตูสู่โลกเกาหลี: ภาษา วัฒนธรรม และโอกาสไร้ขีดจำกัด ที่ ม.อ. ปัตตานี

แห่งแรกของประเทศไทย

เปิดสอนภาษาเกาหลีมากว่า 30 ปี และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาเอกภาษาเกาหลี

มีห้องศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี

มีห้องศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีและสื่อบันเทิงต่าง ๆ เพื่อการศึกษาเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน

เรียนกับเจ้าของภาษาโดยตรง

สอนโดยคณาจารย์ชาวไทยและชาวเกาหลี ที่มีความสามารถและประสบการณ์ด้านการสอนที่ยาวนาน

มีโอกาสได้รับทุนไปศึกษาต่อและทัศนศึกษา

มีโอกาสได้รับทุนไปศึกษาต่อและทัศนศึกษาที่ประเทศเกาหลี ทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีการทำข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่ประเทศเกาหลี

เรียนเกี่ยวกับอะไร ?

ม.อ.ปัตตานี เป็นสถานศึกษาแห่งแรกเปิดสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย มาเรียนที่นี่ จะได้เรียนรู้ภาษาเกาหลีตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูง ได้ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาจากอาจารย์ชาวไทยและอาจารย์ชาวเกาหลีเจ้าของภาษาโดยตรง รวมถึงได้เรียนรู้วัฒนธรรมเกาหลีผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง เช่น เรียนรู้การทำกิมจิ เรียนรู้วิธีชงชา หัดใส่ชุดฮันบก เป็นต้น นอกจากนี้ถ้าสนใจไปเรียนต่อที่ประเทศเกาหลี คณาจารย์พร้อมให้คำปรึกษา และแนะนำข้อมูลอย่างเต็มที่

ตัวอย่างรายวิชาที่คุณจะได้เรียน

  • การสื่อสารภาษาเกาหลี
  • การอ่านภาษาเกาหลี
  • การเขียนภาษาเกาหลี
  • การแปลภาษาเกาหลีเพื่องานธุรกิจ
  • ภาษาเกาหลีเพื่อการท่องเที่ยว
  • ภาษาเกาหลีเพื่องานล่ามธุรกิจ / หน่วยงานราชการ / ทางการแพทย์
  • ภาษาเกาหลีเพื่อการสื่อสารมวลชน
  • ภาษาเกาหลีเพื่อการโรงแรม
  • ภาษาเกาหลีเพื่อธุรกิจการบิน
  • ภาษาเกาหลีเพื่องานเลขานุการ
  • การสอนภาษาเกาหลี
  • ล่ามศัลยกรรมกับความงามสไตล์เกาหลี

 

HIGHLIGHTS

ภาษาเกาหลี

จบแล้วทำงานอะไร ?

  • ล่าม นักแปล มัคคุเทศก์
  • พนักงานธุรกิจสายการบิน
  • พนักงานโรงแรมและการบริการ
  • ครู / อาจารย์สอนภาษา
  • นักข่าว / ผู้ประกาศข่าว / พิธีกร
  • นักสื่อสารประชาสัมพันธ์
  • นักเขียนสารคดี / วรรณกรรม
  • นักการฑูต
  • นักวิชาการในสถาบันต่าง ๆ
  • พนักงานในบริษัทระดับนานาชาติ

มาร่วมตามหาความฝัน มาค้นหาตัวตนที่ใช่ไปกับเรา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาเกาหลี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • จุดประกายความฝันสู่โลกเกาหลี: ไม่ว่าคุณจะหลงใหลในซีรีส์ เพลง อาหาร หรือวัฒนธรรมเกาหลี ที่นี่คือจุดเริ่มต้นของการทำความฝันให้เป็นจริง
  • ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครบวงจร: เรียนรู้ภาษาเกาหลีตั้งแต่พื้นฐาน สัมผัสวัฒนธรรมแบบเข้มข้น กับอาจารย์ชาวไทยและชาวเกาหลีที่เชี่ยวชาญ
  • ผู้บุกเบิกการศึกษาภาษาเกาหลีในไทย: เป็นสถาบันแห่งแรกที่เปิดสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย พร้อมด้วยประสบการณ์และเครือข่ายที่แข็งแกร่ง
  • เส้นทางสู่อาชีพในโลก K-Culture: ไม่เพียงแค่เรียนรู้ในห้องเรียน แต่พร้อมต่อยอดสู่การทำงานจริงในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกาหลี
ปฏิทินรับสมัคร_Tcas68
benner_webhuso
PosterBanner_001_2025_ForWebSlice
Banner_รวมforweb
promote_stickerline 01 [Recovered]
promote_themeline 01 [Recovered]
Slide
ไม่มีชื่อ (1200 x 366 px)
previous arrow
next arrow
Scroll to Top