หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
Bachelor of Arts (Sociology and Anthropology)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
B.A. (Sociology and Anthropology)
ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ ปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม และสามารถศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมด้วยวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
รับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น
รับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ รวมทั้งเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่งในสังคมพหุวัฒนธรรมในบริบทของพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ 1) ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความรับผิดชอบตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ 2) แสดงออกจิตสาธารณะโดยไม่เลือกปฏิบัติติภายใต้ความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม 3) แสดงออกคุณธรรม จริยธรรม และเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ประยุกต์ความรู้พื้นฐานของศาสตร์
ประยุกต์ความรู้พื้นฐานของศาสตร์ทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1) ประยุกต์ใช้ความรู้ บูรณาการทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาผ่านกระบวนวิจัยในการเสนอทิศทางแก้ปัญหาสังคมวัฒนธรรมที่มีความซับซ้อน 2) ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรมในการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด 3) ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านประชากรศาสตร์การแพทย์และสุขภาวะโลกในงานส่งเสริมสุขภาวะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตองค์รวม
สืบค้น แสวงหาความรู้
สืบค้น แสวงหาความรู้ และประเมินข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยและการปฏิบัติงาน
ความคิดริเริ่ม สามารถคิดวิเคราะห์
แสดงออกถึงความคิด สังเคราะห์ สร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมผ่านกระบวนคิดวิเคราะห์อย่างเป็นองค์รวม วิพากษ์ประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อชี้นำสังคมสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
แสดงออกความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการปรับตัว เรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 1) แสดงออกความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ในการปฎิบัติงานและการดำเนินชีวิต 2) มีการปรับตัว เรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
จริยธรรมในการประกอบการ
ใช้ทักษะในการสื่อสาร ภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงานในทุกระดับ 1) ใช้ทักษะในการสื่อสารภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน ทั้งภาษาไทย และต่างประเทศไม่น้อย 2 ภาษา 2) แสดงความสามารถในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่เหมาะสมในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงานในทุกระดับ
แนวทางการประกอบอาชีพทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
- ภาคราชการ ได้แก่ นักพัฒนาชุมชน นักวิชาการการศึกษา นักวิชาการยุติธรรม นักวิชาการวัฒนธรรม พนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน และเจ้าหน้าที่งานพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ฯ
- ภาคเอกชน ได้แก่ นักข่าวสายสังคมและอาชญากรรม นักเขียนสารคดี/ ผู้เขียนบทวิทยุและโทรทัศน์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
- ภาคประชาสังคม นักวิจัยทางสังคมวิทยา/มานุษยวิทยา นักวิชาการภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ผู้ประกอบการ ได้แก่ ธุรกิจส่วนตัว ธุรกิจออนไลน์ และนักออกแบบคอนเทนต์
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นสาขาวิชาที่ไปสำรวจทุกปรากฎการณ์ทางสังคมว่าแต่ละเหตุการณ์มีที่มาเบื้องลึกเบื้องหลังอย่างไร และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร รวมถึงยังศึกษามนุษย์ในทุกแง่มุม ศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาทั้งคติความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมที่มีผลต่อระบบความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ในช่วงเวลานั้น ๆ เพื่อทำความเข้าใจกับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางสังคม และแนะนำแนวทางพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : | 132 หน่วยกิต |
---|---|
สถานภาพของหลักสูตร : | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563 |
โครงสร้างหลักสูตร/แผนการศึกษา : | ดาวน์โหลดไฟล์ |
ประธานหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พะเยาว์ ละกะเต็บ [PAYAO LAKATEB]
Email : payao.l@psu.ac.th
Tel : 3064
Facebook page :
หลักสูตรศศ.บ.สังคมวิทยาฯ ตานี
จากใจศิษย์เก่า
มาตามหาความฝัน
มาค้นหาตัวตนที่ใช่กับเรา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี



บุคลากรสาขาวิชา
A short introduction to your team members and why their background should inspire potential clients’ confidence.

Employee Name
Job title

Employee Name
Job title

Employee Name
Job title

Employee Name
Job title
เครือข่ายความร่วมมือ
This is a place to showcase the logos of some of your clients






