คณะมนุษยศาสตร๋และสังคมศาสตร์ จัดการประชุมนานาชาติ COLLEGA 2023

เมื่อวันที่ 11 – 13 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษา ร่วมกับ Universiti Teknologi MARA โดย College of Creative Arts สหพันธรัฐมาเลเซีย Universiti Malaya โดย Akademi Pengajian Melayu สหพันธรัฐมาเลเซีย และ Universiti Sains Malaysia โดย Sekertariat Kearifan Tempatan สหพันธรัฐมาเลเซีย จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคมลายู (#COLLEGA 2023) International Conference on Local Wisdom in the Malay Archipelago ครั้งที่ 1 ( #COLLEGA2023 ) ในหัวข้อ Creativity and Sustainability ณ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุมาน หะยีมะแซ หัวหน้าโครงการ ร่วมเปิดงานและแลกเปลี่ยนของที่ระลึกจากผู้แทนจากมหาวิทยาลัย ได้แก่ Prof. Dr. Mohd Kipli Bin Abdul Rahman จาก Universiti Teknologi Mara Malaysia Assoc. Prof. Dr. A.S. Hardy Shafii จาก Universiti Sains Malaysia และ Assoc. Prof. Dr. Indriawati Zahid จาก University of Malaya

ต่อจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ จาก Professor Dr. Farok Zakaria จากศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทรื วิทยาเขตปัตตานี Former Director of UMK Language Centre and Generic, Development, and Former Director of UMK International
Office ได้กล่าวแนะนำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และภูมิวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย

สำหรับประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคมลายู (#COLLEGA 2023) International Conference on Local Wisdom in the Malay Archipelago ครั้งที่ 1 ( #COLLEGA2023 ) ในหัวข้อ Creativity and Sustainability จัดขึ้น

1. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและมีความรู้เพื่อส่งเสริมการจัดพื้นที่ทางวิชาการระหว่างประเทศ (Learning Space) และริเริ่มเครือข่ายทางสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริม รักษา และเสริมสร้างการพัฒนาและความยั่งยืนของภูมิปัญญาท้องถิ่นของกรอบพื้นที่ภูมิภาคมลายู

2.เพื่อเสริมสร้างพื้นที่การวิจัย นวัตกรรม และสิ่งพิมพ์ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับนักวิจัยทุกคนในการอภิปรายผลงานวิจัยของตนที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยทั่วไปแล้ว ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มบุคคลในภูมิภาคหรือสถานที่หนึ่งๆ ถ่ายทอดความรู้ด้วยวาจาจากรุ่นสู่รุ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกิดจากอิทธิพลของวัฒนธรรมท้องถิ่น ศาสนา กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม แหล่งธรรมชาติ และภูมิอากาศ ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในบางครั้งปรากฏอยู่ในสิ่งประดิษฐ์และสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น เช่น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะมลายูก็มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตกทอดมาจากคนรุ่นก่อน ตัวอย่างเช่น การออกแบบบ้านแบบมาเลย์ดั้งเดิมนั้นเข้ากับสภาพอากาศของภูมิภาคนี้ซึ่งเป็นเขตร้อนชื้นที่มักจะถูกระบุว่าร้อนและชื้นเนื่องจากตำแหน่งที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการออกแบบโรงเรือนที่เหมาะสมเพื่อให้มีการระบายอากาศเพียงพอเพื่อลดอุณหภูมิและความชื้น โชคดีที่บรรพบุรุษชาวมลายูเข้าใจสภาพอากาศในท้องถิ่น ส่งผลให้มีการออกแบบบ้านควบคุมสภาพอากาศ

3. การประชุมวิชาการที่ได้บทความและสามารถนำไปตีพิมพ์เป็นผลงานวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้สามารถใช้ประสบการณ์ และความพร้อมของมหาวิทยาลัยที่ร่วมกันจัดประชุมวิชาการเสนอแนวทางการจัดพิมพ์เผยแผ่ในระยะเวลาไม่นานหลังจากการจัดการประชุม ความรู้ที่ตกผลึกเป็นงานวิชาการย่อมมีความยั่งยืนและนำไปต่อยอดได้

4. การประชุมครั้งนี้จะกระชับกิจกรรมความเป็นสากลที่สามารถเน้นมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียนในเวทีโลก นักศึกษาและชุมชนวิชาการสามารถมีปฏิสัมพันธ์ในบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ที่คาดว่าจะสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานร่วมกันในการสอน การเรียนรู้ และการวิจัย

ในการประชุมวิชาการนานาชาติ ในครั้งนี้ แบ่งกลุ่มบทความที่นำเสนอ เป็น 4 กลุ่ม จากจำนวน 105 บทความ ดังนี้

– กลุ่ม Local Wisdom of Health and Wellness
– กลุ่ม Local Wisdom of Science and Innovation
– กลุ่ม Local Wisdom of Culture and Arts
– กลุ่ม Local Wisdom and Preservation

Scroll to Top