คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดเสวนาการสื่อสารไร้ถ้อยคำในวัฒนธรรมนานาชาติ เน้น ‘อวัจนภาษา’ ฉลองครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนา

การเสวนา [ “ การสื่อสารไร้ถ้อยคำในวัฒนธรรมนานาชาติ NONVERBAL COMMUNICATION IN INERCULTURAL CONTEXTS “ ] จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องมะเดื่อ ชั้น 2 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยงานวิจัย ร่วมกับ 8 หลักสูตรฯ ที่จัดการเรียนการนอนภาษาต่างประเทศ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารด้วย “อวัจนภาษา” ในวัฒนธรรมภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษามลายู และภาษาอาหรับ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมทายความหมายจากท่าทางในรหัสลับ กิจกรรมส่งท่าทางและทายควสมหมายจากท่าทางของคนสุดท้าย กิจกรรมท่าทางของแต่ละประเทศและทำท่าทำทาง กิจกรรมบทบาทสมมุติ

การติดต่อสื่อสาร การเดินทางหรือการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร และการทำงานร่วมกับบุคคลจากวัฒนธรรมและภาษาต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป การทำงานในบริบทที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้ จำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมซึ่งรวมถึงการเข้าใจ “อวัจนภาษา” ที่สะท้อนถึงอารมณ์ ความรู้สึก และเจตนาของผู้สื่อสาร โดยเฉพาะการใช้ท่าทาง สีหน้า และการแสดงออกอื่น ๆ ที่อาจตีความได้ต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี การตีความที่ผิดพลาดอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมเหล่านี้ อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลได้

​คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการศึกษาในด้านภาษาและวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการเสริมสร้างความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการทำงานในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษา กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ จึงมีเป้าหมาย ที่จะเพิ่มพูนความรู้ และทักษะในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมแก่บุคลากร ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่ทำงานร่วมกับชาวต่างชาติ การอบรมในวันนี้ จึงถูกออกแบบมาเพื่อ สร้างความตระหนักรู้ และทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารผ่านอวัจนภาษา ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้การทำงานและการอยู่ร่วมกัน ในสังคมหลากหลายวัฒนธรรม เป็นไปอย่างราบรื่น

Scroll to Top