เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ได้มีการขยายผลการวิจัยที่ได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมสำหรับการช่วยให้เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาสายอาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย”

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมปาหนัน วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา อ.เมือง จ.ยะลา เวลา 08.00-12.00 น. ได้มีการขยายผลการวิจัยที่ได้ดำเนินการวิจัยที่ได้ดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่งปี คือ โครงการวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมสำหรับการช่วยให้เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาสายอาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยการนำของรองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยชนนี สิทธิชัย หัวหน้าโครงการวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เดชดนัย จุ้ยชุม ผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ร่วมวิจัย สนับสนุนทุนวิจัยโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว โดยมีที่ปรึกษา คือ รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิง รัศมี โชติพันธุ์วิทยากุล

โดยการขยายผลการวิจัยครั้งนี้ จัดทำในรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแนะนำและฝึกปฏิบัติการใช้นวัตกรรมสำหรับการช่วยให้เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ให้กับผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ครูแนะแนว ครูพละศึกษา ครูฝ่ายปกครอง ฯลฯ ทั้ง 5 วิทยาลัย ของภาครัฐและเอกชน จากวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา วิทยาลัยเทคนิคยะลา วิทยาลัยการอาชีพนครยะลา วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา และวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจยะลา ซึ่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา จังหวัดยะลา อาจารย์ประกายแก้ว ศุภอักษร ได้ประสานงานเป็นอย่างดี และเอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดการอบรม ทั้งนี้ทีมวิจัยนำการถ่ายทอดความรู้ด้านนวัตกรรม ของทางโครงการวิจัยฯ อีกทั้งโครงการวิจัยได้รับเกียรติจากอาจารย์แพทย์หญิงฟารินดา หะยียูโซะ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จ. ยะลา ( โดยการแนะนำจากอาจารย์หมอ ซาฟารี บินหลี อายุรแพทย์ โรงพยาบาลสงขลา ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้) ให้ความรู้ประเด็นความรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีวิทยากรอีก 1 ท่าน คือ อาจารย์ชนิตา พรหมทองดี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นวิทยากรนำการใช้กิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการใช้เครื่องมือและนวัตกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 52 คน ทีมวิจัยหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ได้เข้าใจและปรับใช้นวัตกรรมดังกล่าว ในการช่วยเหลือเยาวชนให้ เลิก ลด ละ พฤติกรรมการไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นลำดับต่อไป

Scroll to Top